Robot Freak
Getter Robo Saga 2
ชินเก็ตเตอร์ นำเก็ตเตอร์กลับไปสู่รูปลักษณ์ดั้งเดิมของเก็ตเตอร์
ชินเก็ตเตอร์ นำเก็ตเตอร์กลับไปสู่รูปลักษณ์ดั้งเดิมของเก็ตเตอร์ แต่บวกด้วยรูปลักษณ์ที่เหมือนกับชีวะจักรกลมากขึ้นตามสไตล์ระยะหลังของอิชิคาว่า เคน และนำคนอ่านและแฟนๆกลับไปสู่จุดกำเนิดของเก็ตเตอร์นั่นคือสถาบันวิจัยซาโอโตเมะ โดยผูกเรื่องให้ ชินเก็ตเตอร์ เป็นผลงานวิจัยชิ้นสุดท้ายของดร.ซาโอโตเมะ แต่ควบคุมมันไม่ได้ จนต้องกักมันไว้ในสถาบันวิจัย และทำให้ที่นั่นค้องพินาศจนต้องถูกทิ้งร้างไป และยังเป็นการกลับมาของนางาเระ เรียวมะ พระเอกดั้งเดิมของเรื่องด้วย ที่มาในรูปลักษณ์ของนักบวช ก่อนที่จะจบภาคโกโดยนำเก็ตเตอร์ไปสู่อวกาศ และปูว่าการมาโลกของพลังงานเก็ตเตอร์ น่าจะมีอะไรมากกว่าที่คิด
.
ก่อนที่อิชิคาว่า เคนจะลงมือเขียนมังงะในชื่อ “ชิน เก็ตเตอร์”เป็นภาคต่อมา โดยในภาคนี้ย้อนไปเล่าสาเหตุที่ทำให้สถาบันวิจัยซาโอโตเมะตกอยู่ในสภาพทิ้งร้างอย่างที่เราเห็นในภาค โก มีการพูดถึงพลังงานเก็ตเตอร์ว่าเป็นพลังงานจากอวกาศ และมีผลเสียต่อผู้ที่ใกล้ชิดมันเช่นดร.ซาโอโตเมะที่สภาพย่ำแย่ลงทุกทีทั้งร่างกายและจิตใจ และยังเล่าถึงเหคุที่ทีมเก็ตเตอร์ต้องแยกกันเมื่อเรียวมะห็นนิมิตรของอนาคตที่ยานรบเก็ตเตอร์ เอมเพอเรอร์ทำลายจักรวาล
.
นับจากเรื่องนี้หุ่นเก็ตเตอร์เริ่มดูจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ มีชีวิตจิตใจของตัวเอง สังเกตุได้จากที่มีดวงตาครับ ยิ่งตัวต่อไปนี่ถึงกับมีปากกัดกินคู่ต่อสู้กันด้วย ช่วยย้ำความน่าสงสัยของพลังงานเก็ตเตอร์ขึ้นไปอีก
.
Gekigangar 3 อะนิเมะสุดฮิท ส่วนหนึ่งของอะนิเมะ Nadesico
ถึงอะนิเมะ Getter Go จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ในปี 1996 ก็การบอกรักเก็ตเตอร์ ผ่านอะนิเมะเรื่อง Nadesico ที่ในนั้นมีอะนิเมะฮิทเรื่อง Gekigangar 3 ที่เป็นหุ่นยนต์ที่เกิดจากการรวมร่างของยานสามลำ และในตอนอวสานหนึ่งในทีมขับจะตายเหมือนกัน(แต่ในเรื่องนี้เป็นหมายเลข2) ซึ่งก็บอกได้ว่าวงการอะนิเมะรักเก็ตเตอร์มากแค่ไหน
.
ความน่าสนใจของชินเก็ตเตอร์ ทำให้บริษัทเกมแบนเพรสโต(ในเครือของเจ้าพ่อของเล่น บันได)นำเอาหุ่นยนต์ตัวนี้ไปใส่ไว้ใน เกมรวมดาวหุ่นยนต์ยอดฮิทอย่างซุปเปอร์โรบอทวอร์ ในภาคที่ 4 และมันเป็นเหมือนการขยายความดังของ หุ่นยนต์ตัวนี้ให้มากขึ้น
.
คำว่า “ชิน”ในชื่อของเก็ตเตอร์ ตัวนี้มีความหมายว่าแท้จริง ขณะที่จากบทบาทในเนื้อเรื่องในมังงะก็เป็นการเน้นย้ำประเด็นเรื่องความอันตรายของพลังงานเก็ตเตอร์ อันเป็นสิ่งที่จะเป็นประเด็นที่เนื้อเรื่องเก็ตเตอร์ในช่วงหลังโดยอิชิคาว่า เคน เน้นย้ำอยู่ตลอด ชินเก็ตเตอร์ยิ่งดังระเบิด และถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมชั่นในเวลาต่อมา
.
Change Getter : The Last Day of Planet
ในปี 1998 .ในโอกาสฉลอง 15 ปี Emotion/Bandai Visual Shin Getter คือโปรเจคท์เพื่อโอกาสนี้ โดยสร้างออกมาในรูปแบบของ OVA(Original Video Animation) ในชื่อ Change Getter : The Last Day of Planet คำว่า Change ในชื่อ กำหนดให้เป็นเสียงอ่านของตัวเขียนที่ใช้ตัว “ชิน” ที่ใช้ปรกติในชื่อของชินเก็ตเตอร์(ที่แปลว่าแท้จริงนั่นแหละ) และรูปลักษณ์ก็เป็นไปตามจินตนาการของอิชิคาว่า เคน ทั้งตัวเก็ตเตอร์ธรรมดา และชิน เก็ตเตอร์ ในด้านของเนื้อเรื่องก็มีการเปลี่ยนแปลง สมกับชื่อเรื่อง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ศัตรูที่เก็ตเตอร์ต้องต่อกรไม่ใช่จักรวรรดิ์ไดโนเสาร์กับจักรวรรดิ์ยักษ์ แต่เป็นสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวที่เรียกว่าพวกอินเวเดอร์ และที่สำคัญเก็ตเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้คนบังคับถึง 3 คน แต่ใช้แค่คนเดียวพอ ทำให้เก็ตเตอร์มีมากกว่า 1 ตัว โดยนักบินของเก็ตเตอร์ก็คือเหล่าตัวละครที่เรารักและรู้จัก นางาเระ เรียวมะ,จิน ฮายาโตะ,โทโมเอะ มุซาชิและคุรามะ เบ็งเคย์ ที่มีสมรภูมิกันถึงที่ดวงจันทร์
.
และเรื่องราวก็เป็นเหตุการณ์หลังศึกใหญ่บนดวงจันทร์ในอีกหลายปีต่อมา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเหล่าตัวละคร ที่อาจจะนำไปสู่อวสานของโลก เบื้องหลังงานสร้างของอะนิเมะเรื่องนี้มีความวุ่นวายไม่น้อย เมื่อผู้กำกับและเขียนบทคนดั้งเดิม คือคุณ ยาสุฮิโร่ อิมากาว่า ขัดแย้งกับทีมงานจึงถอนตัวไปพร้อมกับบทที่ยังเหลือหลังสร้างไปได้สามตอน จึงต้องให้คุณ จุน คาวาโกเอะ มากำกับต่อ และได้คุณชินโซ ฟูจิตะ กับ โยชิฟูมิ ฟูกูชิมะ มาเขียนบทต่อ ทำให้จะเห็นว่า โทนเรื่องตั้งแต่ตอนที่ 4 เป็นต้นไปจะสดใสกว่าสามตอนแรก ว่ากันว่าคุณอิมากาว่าเอาเนื้อหาที่วางไว้ไปเขียนเป็นคอมิคในชื่อ Shin Getter :Try to Remember ที่ตีพิมพ์ลงแค่ในนิตยสารแต่ไม่มีฉบับรวมเล่มเราเลยไม่ได้อ่านกัน OVAชุดนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนมีลูกต่อเนื่องออกมาเป็นเกมบนเครื่อง PS1 (อะนิเมะชุดนี้ในไทยออกโดยบริษัทไทก้า)
.