รีเทิร์นทูกันดั้มเวิล์ด Return to Gundam World 

รีเทิร์นทูกันดั้มเวิล์ด Return to Gundam World 


Return to Gundam World 

เริ่มต้นครั้งแรกของคอลัมน์ก็ต้องเป็นเรื่องของกันดั้ม follow ตามชื่อคอลัมน์กันก่อน แต่เนื่องจากเวลา 40 ปีหลังจาก RX-78 GUNDAM ยืนขึ้นครั้งแรกที่ไซต์ 7 นั้น ได้มีการออกแบบกันดั้มออกมาอีกมากมาย(แทบจะมากกว่าจิมด้วยซ้ำมั้ง 555)  ดังนั้นในครั้งนี้จึงขอโฟกัสที่กันดั้มในสงคราม 1 ปี (One Year War) ของศักราช Universal Century ดั้งเดิมก่อน ส่วนประวัติเพิ่มเติมจาก Gundam Origin และกันดั้มในจักรวาลอื่นๆจะขอกล่าวถึงในภายหลังนะครับ  

  

RX-78-1 GUNDAM “Prototype” 

กันดั้มตัวแรกของ V – Project นั้นไม่ใช่เครื่องของ อามุโร่ เรย์ ในภาพยนตร์ แต่เป็นเครื่อง 78-1 ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองภารกิจ close combat ที่เน้นความคล่องตัวในการรบ ต่างจาก GunTank และ GunCannon โมบิลสุทสองแบบแรกของโปรเจก ที่มุ่งเน้นไปที่อำนาจการยิงสนับสนุนระยะกลาง และเพื่อชดเชยอำนาจการยิงที่ลดลงนี้ ทางสหพันธ์โลกจึงได้เริ่มพัฒนาอาวุธลำแสง(Beam) ทั้งบีมไรเฟิล และบีมเซเบอร์ ขึ้นมา รวมทั้งพยายามปรับปรุงระบบต่างๆสำหรับการต่อสู้ในอวกาศให้มีประสิทธิภาพขึ้น(ก็ศัตรูคือพวกซีออนซึ่งอยู่ที่ไซต์ 3 ในอวกาศนี่นะ) เครื่อง 01 จึงเป็นเครื่องต้น(prototype) ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบระบบต่างๆ เป็นหลัก  

เครื่อง 01 เคยปรากฏในรูปแบบ roll out สีเทา-แดง แต่แบบที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดคือคู่สี ดำ-ขาว-แดง ตามแบบดีไซน์ MSV ของอาจารย์คุนิโอะ โอคาวารา มีจุดสังเกตความแตกต่างจากเครื่อง 78-2 ที่ชัดเจนคือส่วน ข้อมือ เอวและ เกราะข้อเท้า (ถ้าเป็น roll out ส่วนหัวจะต่างชัดเจนด้วย) นอกจากนี้อาวุธหลักของ 01 ยังเป็นบีมไรเฟิลรุ่น XBR-M79-04G รุ่นก่อนที่จะพัฒนามาเป็น XBR-M79-07G ของเครื่อง 02 ที่เราคุ้นเคย 

เครื่อง 01 ถูกส่งไปทดสอบระบบคอร์บล็อก FF-X5 Prototype Core Fighter และระบบต่างๆบนโลกก่อนที่จะถูกส่งไปยัง Side 7 เพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติม แม้จะไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ แต่ว่ากันว่าเครื่อง 01 นั้นได้ถูกทำลายลงในระหว่างการโจมตีของ Zeon ที่ไซต์ 7 ซึ่งก็คือการโจมตีในฉากเปิดเรื่องของ GUNDAM นั่นเอง 

  

ข้อมูลจำเพาะของ RX-78-01 

ความสูง 18.0 เมตร (ถึงส่วนหัว ไม่รวมเสาอากาศ) 

น้ำหนัก 42.4 เมตริกตัน เมื่อไม่ติดอาวุธ และ 59 เมตริกตัน เมื่อติดอาวุธหลัก 

แหล่งกำเนิดพลังงาน เตาปฏิกรณ์ฟิวชั่น Minovsky Ultracompact  ให้กำลัง  1380 กิโลวัตต์ 

แรงขับ 55500 กก 

  

พิสัยเซนเซอร์ 5700 เมตร 

เกราะ ลูนาร์ ไทเทเนียม 

เวลาในการหมุน 180 ° 1.5 วินาที 

อาวุธมาตรฐาน 

ปืนวัลแคน ขนาด 60 มม จำนวน 2 กระบอก 

บีมเซเบอร์(หรือบีมเจเวลิน)  2 ด้าม 

บีมไรเฟิล XBR-M79-04G 

โล่ 

อาวุธเสริม 

ปืนกล 120 มม 

ไฮเปอร์บาซูก้า 

กันดั้มแฮมเมอร์ 

 

RX-78-3 GUNDAM G-3 

GUNDAM G-3 นั้นมีลักษณะภายนอกที่แทบไม่แตกต่างจากเครื่อง 78-2 ของ อมุโร่ เรย์ เลย ยกเว้นคู่สีที่เป็นแบบ Low Visibility  โดยภารกิจหลักของเครื่อง  RX-78-3 หรือ G-3 ก็คือการทดสอบเทคโนโลยี Magnet Coating*  (ซึ่งต่อมาเทคโนโลยีนี้ก็ได้นำไปใช้กับ RX-78-2 ของอมุโร่ด้วย  นอกจากนี้ยังติดตั้งระบบ NICN ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้เอง (แบบเดียวกับที่ติดตั้งกับ  RX-78NT-1 GUNDAM "ALEX") และ Laser Accelerator รุ่นใหม่สำหรับเตาปฏิกรณ์เทอร์โมนิวเคลียร์  ทำให้ G-3 สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วเป็นสองเท่าของ RX-78-2 ที่ติดตั้งระบบ ICN  ในช่วงแรกๆของการรบ  

 

 

มีบันทึกว่าระหว่างการโจมตีไซต์ 7 ของซีออนในเดือนกันยายน UC 0079 (ฉากเปิดในอนิเมะ) เครื่อง RX-78-1 ถูกทำลาย ส่วนเครื่อง RX-78-3 นั้น แม้จะได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ แต่ด้วยความลับในการทดสอบและการประเมินว่าความเสียหายนั้นยังพอจะสามารถฟื้นฟูสภาพได้ มันจึงถูกโหลดขึ้นยาน White Base ไปด้วย เพื่อนำอะไหล่บางส่วนมาใช้เป็นชิ้นส่วนสำรองให้แก่เครื่อง RX-78-2 Gundam  แต่เมื่อยาน White Base เดินทางมาถึง Odessa เครื่อง G-3 ก็ถูกย้ายลงจากยานเพื่อขนส่งต่อไปยัง Augusta Lab  เพื่อทำการทดสอบควบคู่ไปกับกันดั้มรุ่นใหม่ที่มีโค้ดเนมว่า ALEX (ตรงนี้มี Joke แบบ non-official หรือข่าวลือนั่นแหละ ...ว่า ALEX นั้นมาจากข้อจำกัดในการพูดภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่น ที่จริงๆจะพูดถึง RX แต่กลายเป็น ALEX ไป ก็เลยได้ชื่อใหม่เท่ๆ) แต่บางแหล่งข่าวก็บอกว่ามันถูกส่งไปวิจัย-พัฒนาต่อที่ Luna II ในอวกาศ และไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่าเครื่อง G-3 นั้นมีชะตากรรมเช่นใดหลังจากนั้น 

 

ใน version นิยาย เรื่องราวของ G-3 จะแตกต่างออกไปจากเรื่อง back up ของ MSV อยู่บ้าง โดยเครื่อง G-3 ได้กลายเป็นเครื่องประจำตัวของอมุโร่ (เราจึงเห็นข้อมูลบางแหล่งระบุว่า pilot ของ G-3 ก็คืออมุโร่ เรย์) หลังจากเครื่อง RX-78-2 ได้เสียหายจากการปะทะกับ ลาล่า  นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องราวในมังงะที่มีรายละเอียดแตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน  

  

* Magnet Coating   คือการการเคลือบแม่เหล็กลงในข้อต่อเพื่อเพิ่มการตอบสนองให้เร็วขึ้น ในกรณีของ RX-78-2 นั้น นิวไทป์ อมุโร่ เรย์ มีประสาทการตอบสนองในการต่อสู้ที่ไวมาก แต่เครื่อง GUNDAM นั้นไม่สามารถตอบสนองต่อตัวเขาได้ทัน เทคโนโลยี Magnet Coating  นี้จึงช่วยให้ GUNDAM ตอบสนองต่ออมุโร่ได้เร็วขึ้น ซึ่งยิ่งช่วยให้ประสิทธิภาพในการรบสูงขึ้น 

  

   General Characteristics 

ข้อมูลจำเพาะ RX-78-3 

  

⦁ ความสูง 18.0 เมตร (รวมเสาอากาศ 18.5 เมตร) 

⦁ น้ำหนักเปล่า 43.4 ตัน  

⦁ น้ำหนักเมื่อติดอาวุธหลัก  60.0 ตัน 

⦁ แหล่งกำเนิดพลังงาน เตาปฏิกรณ์ฟิวชั่น  ให้กำลัง 1380 กิโลวัตต์   

แรงขับ 55500 กิโลกรัม 

⦁ พิสัยเซ็นเซอร์ 5700 เมตร 

⦁ เกราะ ลูนาร์ ไทเทเนียม 

⦁ เวลาในการหมุน 180 องศา   1.1 วินาที 

⦁ อาวุธมาตรฐาน 

⦁ ปืนวัลแคน 60 ม.ม. จำนวน 2 กระบอก  

⦁ บีมเซเบอร์ (หรือบีมเจเวลิน) 2 ด้าม 

⦁ บีมไรเฟิล XBR-M79-07G 

⦁ โล่ 

  

⦁ อาวุธเสริม  

⦁ ไฮเปอร์บาซูก้า  

⦁ กันดั้มแฮมเมอร์ 

⦁ ไฮเปอร์แฮมเมอร์ 

⦁ ซุเปอร์นาปาล์ม 

 

RX-78-4 และ RX-78-5  คู่หูมหาประลัย 

  

เมื่อกองทัพซีออนเริ่มพ่ายแพ้ในสมรภูมิอเมริกาเหนือ แอฟริกา โอเดซซ่า และได้เริ่มทยอยถอนกำลังกลับไปยังอวกาศ ทางสหพันธ์โลกจึงเล็งเห็นว่าสมรภูมิหลักนั้นน่าจะเปลี่ยนจากบนโลกไปเป็นอวกาศ ประกอบกับข้อมูลและความสำเร็จที่ได้รับรายงานมาเรื่อยๆ จากการต่อสู้ของ RX-78-2  ทางสหพันธ์ฯจึงได้ตัดสินใจพัฒนากันดั้มรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกันดั้มสำหรับนิวไทป์อย่าง Alex หรือกันดั้มสำหรับภารกิจในอวกาศโดยเฉพาะอย่างเจ้าแฝด RX-78-4 Gundam G04 และ RX-78-5 Gundam G05